อำเภอปัว ตั้งอยู่ทางตอนบนของจังหวัดน่าน ขึ้นไป 70-80 กม. ใช้เวลาเดินทางราว 1 ชม. เศษ ซึ่งหลายท่านอาจจะนึกถึงธรรมชาติอันสวยงามของจังหวัดนี้
แต่ก่อนอื่น ขอแนะนำ เที่ยววัดจังหวัดน่าน ที่จะมาแนะนำวัดเอาใจสายบุญและสายเสพสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ให้ได้เลือกและไปเยือนชมกันดูสักครั้ง
เที่ยววัดจังหวัดน่าน ที่มีสถาปัตยกรรมผสมกับศิลปะล้านนา
เที่ยววัดจังหวัดน่าน สถานที่แรกที่อยากแนะนำ ก็คือ วัดต้นแหลง เป็นวัดที่มีขนาดไม่ใหญ่ แต่นับว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมที่โครงสร้างและรูปทรงเป็นแบบไทลื้อขนานแท้ที่ยังคงหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ดังจะเห็นได้จากโครงหลังคาเป็นทรงตะคุ่มลาดต่ำซ้อนกัน 3 ชั้น มุงด้วยไม้เป้นเกล็ด ตัวอาคารเป็นปูนและเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เพื่อป้องกันความหนาวเย็น สำหรับชื่อวัดนี้มาจากชื่อต้นไม้ที่อยู่ใกล้ในบริเวณ แต่หากเป็นชื่อในภาษาภาคกลางจะเรียกว่า ต้นยวงผึ้ง
เที่ยววัดจังหวัดน่าน สถานที่ที่สองที่อยากแนะนำ ก็คือ วัดพระธาตุเบ็งสกัด เป็นอีกวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อ แต่มีลักษณะผสมกับศิลปะล้านนาในเรื่องของโครงสร้างและหลังคาที่เป็นแบบกดต่ำ มีลาดบัวที่ฐานล่างของพระวิหาร หน้าต่างเป็นช่องบานเล็กเพื่อป้องกันอากาศอันหนาวเย็น
โดยด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์พระธาตุเบ็งสกัด ซึ่งมีอายุราว 700 ปี นั่นจึงเท่ากับว่าสร้างมาก่อนอุโบสถ นอกจากนี้การก่อสร้างวัดยังได้เลือกจากชัยภูมิอันเหมาะสม ทำให้ในตอนนี้กลายเป็นวัดที่มีวิวสวยงามอยู่เบื้องหน้า หากมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลฝนหรือฤดูหนาวจะได้บรรยากาศมากที่สุด
เที่ยววัดจังหวัดน่าน สถานที่ที่สามที่อยากแนะนำ ก็คือ วัดสวนดอก ชื่อวัดนี้มาจากการที่พื้นที่แห่งนี้ในอดีตคือสวนดอกไม้ของเจ้าผู้ครองนคร สำหรับสถาปัตยกรรมของวัดจะเป็นแบบผสมล้านนาประยุกต์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานของการใช้ศิลปะแบบสมัยใหม่เข้าไปผสม สิ่งที่อยากให้ไปเห็นด้วยตาตัวเอง คือจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นแบบล้านนา ซึ่งมีไม่กี่วัดที่ยังคงมีอยู่
สำหรับใครที่ผ่านมาจังหวัดน่านมา เที่ยววัดจังหวัดน่าน ขอแนะนำทั้ง 3 วัดนี้อาจจะไม่ต้องไปให้ครบก็ได้ แต่สามารถเลือกวัดที่สนใจหรือที่เข้ากับสไตล์การท่องเที่ยวแต่ละคน แล้วเดินทางไปได้เลย ซึ่งแต่ละวัดที่นำมาเล่าถึงในวันนี้อยู่ไม่ไกลกัน
เว็บไซต์เราขอแนะนำ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่คุณจะไม่พลาด!!